วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

แหล่งท่องเที่ยวตามอำเภอเมืองนครพนม

  • แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ (แยกตามอำเภอ)
    • อำเภอเมืองนครพนม

วัดโอกาสศรีบัวบาน ตั้งอยู่ริมฝั่งโขงเขตเทศบาลเมืองนครพนม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณ บริเวณกลางวัดจะมีหอประดิษฐานพระติ้วกับพระเทียมอยู่คู่กัน พระติ้วจะประทับอยู่ด้านขวาของพระเทียม พระติ้ว เป็นพระพุทธรูปปางเพชรมารวิชัย ทำด้วยไม้ติ้วบุทองคำ ขนาดหน้าตักกว้าง 30 เซนติเมตร สูง 60 เซนติเมตร สร้างโดยเจ้าผู้ครองนครศรีโคตรบูร เมื่อ พ.ศ. 1328 ส่วน พระเทียม มีลักษณะและขนาดเดียวกับพระติ้ว สร้างในสมัยพระเจ้าขัติยวงศา และมีการสมโภชให้พระติ้ว พระเทียม เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ิืิ
วัดศรีเทพประดิษฐาราม ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง ถนนศรีเทพ เยื้องโรงเรียนชุมชนเทศบาล 3 สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2402 ภายในโบสถ์มีจิตรกรรมฝาผนังรูปพุทธประวัติที่สวยงาม และยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระแสง ตามตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นพร้อมกับพระสุกและหลวงพ่อพระใส (วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย) ข้าง ๆ โบสถ์มีเจดีย์บรรจุอัฐิของหลวงปู่จันทร์ (พระเทพสิทธาจารย์) พระเกจิอาจารย์ที่ชาวนครพนมเคารพนับถือ ส่วนรูปปั้นนั้นจะอยู่ในตึกเทพสิทธาราม และที่น่าชมอีกอย่างหนึ่งคือ อาคารที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2464 ซึ่งได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมในด้านปูชนียสถานและวัดวาอาราม จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมถนนสุนทรวิจิตร เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม วัดมหาธาตุสร้างในปี พ.ศ. 1150 โดยพระยามหาอำมาตย์ (ป้อม) แม่ทัพใหญ่ที่มาจากเวียงจันทน์ มีพระธาตุนครลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างประมาณ 5.85 เมตร สูงประมาณ 24 เมตร เป็นปูชนียสถานสำคัญ และยังมีโบสถ์เก่าแก่สวยงามมาก
วัดนักบุญอันนา หนองแสง ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร เลียบเขื่อนหน้าเมืองนครพนม สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1926 โดยคุณพ่อเอทัวร์ นำลาภ อธิการโบสถ์ วัดนักบุญอันนาหนองแสงนี้เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนานาชาติที่มีคนหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่สถาปัตยกรรมที่สวยงามแปลกตา ในช่วงก่อนวันคริสต์มาส ชาวคริสต์แต่ละชุมชนจะประดิษฐ์ดาวรูปแบบต่าง ๆ แล้วแห่มารวมกันไว้ที่นี่
วัดโพธิ์ศรี ตั้งอยู่ริมถนนสุนทรวิจิตร เลียบริมแม่น้ำโขง ภายในกุฎิเจ้าอาวาสเป็นที่ประดิษฐานพระทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสำริด ปางมารวิชัย และเป็นพระพุทธรูปโบราณสกุลช่างล้านช้าง ตรงกับสมัยอยุธยาตอนต้น ในอดีตเคยทำพิธีสรงน้ำพระทองในวันสงกรานต์ แต่มักจะเกิดพายุและฝนตกหนักทุกครั้ง ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นพระพุทธรูปองค์อื่นแทน ปัจจุบันทุกวันเพ็ญเดือนหกจะนิมนต์มาตั้งไว้ที่หน้าโบสถ์ให้ชาวบ้านมาสรงน้ำ และในวันออกพรรษาชาวบ้านห้อมจะมาทอดปราสาทผึ้งที่วัดนี้ทุกปี
พิพิธภัณฑ์จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่บนถนนสุนทรวิจิตร ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่มีความสวยงาม เนื่องจากการก่อสร้างได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส ช่วงสมัยสงครามอินโด แม้จะมีอายุที่เก่าแก่มากแล้ว แต่ยังคงรักษาสภาพและความสวยงามต่างๆ ไว้ได้อย่างดี ปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เล่าเรื่องราวความเป็นมาของเมืองนครพนมได้อย่างน่าสนใจ
สวนหลวง ร.9 จังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองนครพนมทางด้านทิศเหนือ สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชสักการะ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เป็นสวนสาธารณะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน
เขื่อนหน้าเมืองนครพนม เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองนครพนม และเป็นจุดชมทิวทัศน์ พระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามริมแม่น้ำโขง บริเวณเขื่อนหน้าเมืองนครพนมนี้อยู่ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
หาดทรายทองศรีโคตรบูร เป็นหาดทรายน้ำจืดที่สวยงามมากแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ในฤดูแล้ง (ราวเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม) หาดทรายจะยื่นออกไปกลางลำน้ำโขง หาดทรายนี้จะอยู่ตรงข้ามกับที่ทำการแขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและชมความงามของธรรมชาติ
หมู่บ้านมิตรภาพไทย - เวียดนาม หรือ บ้านนาจอก (บ้านท่านโฮจิมินห์) เป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นายโฮจิมินห์ได้เคยเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อกอบกู้เอกราชของวียดนาม ระหว่างปี พ.ศ. 2467–2474 ผู้สนใจเข้าชมสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0 4252 2430 ที่หมู่บ้านนี้จะปลูกต้นไม้รอบบ้านอย่างร่มรื่น เช่น ต้นหมาก พลู กล้วย และชา นอกจากนี้บริเวณริมถนนยังมีร้านก๋วยเตี๋ยวและอาหารเวียดนามขายอีกด้วย การเดินทาง ตามทางหลวงหมายเลข 22 เส้นนครพนม-สกลนคร บริเวณกิโลเมตรที่ 237-238

เทศกาลงานประเพณี

  • เทศกาลงานประเพณี
งานนมัสการพระธาตุพนม กำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 10 ค่ำถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ซึ่งถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาว นครพนมและจังหวัดใกล้เคียง
ประเพณีการไหลเรือไฟ จัดขึ้นในวันออกพรรษาของทุกปีคือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 การไหลเรือไฟถือเป็นการบูชาเทพเจ้า ในวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จมาจากเทวโลก วันนี้เรียกว่า“วันพระเจ้าเปิดโลก” การไหลเรือไฟคือการสักการบูชาอย่างหนึ่ง เดิมเรือไฟทำด้วยท่อนกล้วย หรือไม้ไผ่ต่อเป็นลำเรือ ภายในบรรจุขนมข้าวต้มมัด หรือสิ่งของที่ต้องการบริจาค ข้างนอกเรือมีดอกไม้ธูปเทียน ตะเกียง และขี้ไต้ สำหรับจุดให้สว่างก่อนปล่อยเรือไฟ
ประเพณีแสกเต้นสาก เป็นประเพณีของชนเผ่าแสก ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านอาจสามารถ อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นการเต้นบวงสรวงเจ้าที่ เต้นกันเป็นประจำทุกปี ในเดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำ
การฟ้อนผู้ไทย เป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความสามัคคีในหมู่คณะเดียวกัน โดยจะฟ้อนในงานเทศกาลเดือน 5 และเดือน 6 สมัยก่อนจะฟ้อนกันตามความถนัด และความสามารถแต่ละบุคคล ไม่ได้เน้นความเป็นระเบียบหรือความพร้อมเพรียง แต่เน้นลีลาการฟ้อนรำของชายหญิงคู่กันยึดการรำแบบดั้งเดิมเป็นหลัก นับเป็นศิลปะ ที่สวยงามหาชมได้ยากในปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวผู้ไทยยังมีการต้อนรับด้วยการบายศรี สู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ
โซ่ทั่งบั้ง เป็นประเพณีของชาวโซ่ (โส้) เป็นชนเผ่าหนึ่งคล้ำกว่าชาวอีสานทั่วไป มีภาษาเป็นของตนเอง การเต้นโซ่ทั่งบั้ง เป็นการรำในงานศพเพื่อส่งวิญญาณผู้ตายให้ไปสุขสบายในชาติหน้า การรำมีทั้งชายและหญิง โดยส่วนใหญ่มีอยู่ที่อำเภอโพนสวรรค์
การแข่งเรือ (ส่วงเฮือ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษามีความมุ่งหมายให้ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกันก่อให้เกิดความสามัคคีความเสียสละ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนชาวลาวและชาวไทย จัดขึ้นในลำน้ำโขง บริเวณหน้าเขื่อนนครพนม มีระยะทางแข่งขัน 3 กิโลเมตร ในร่องน้ำที่ไหลเชี่ยวยากลำบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ชนะคือผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง

วัดภูถ้ำพระ

วัดภูถ้ำพระ

วัดภูถ้ำพระอยู่ห่างจากบ้านนาแกน้อยไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ปราสาททอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ เดิมเป็นวัดที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ ใช้เป็นที่ปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานครับ














ถอดจารึกขอม"ภูถ้ำพระ" ทำไมพระพุทธรูปไปอยู่ที่นั่น 
      หลายท่านที่สนใจเรื่องราวของประวัติศาสตร์เมืองสกลนครคงจะทราบว่าที่ภูถ้ำพระ บ้านหนองสะไน ตำบลนาม่อง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร มีจารึกภาษาขอมอยู่ที่หน้าผาหินทรายใต้เพิงผา (ลักษณะคล้ายถ้ำ) บนภูเขาชื่อว่าภูถ้ำพระภาวนา ซึ่งกรมศิลปากร โดยนายชะเอม แก้วคล้าย และนายบุญเลิศ เสนานนท์ ผู้เชี่ยวชาญภาษาขอม ได้ถอดความออกเป็นภาษาไทย มีใจความว่า













เพิงหน้าผาที่มีการจารึกภาษาขอม (พระพุทธรูปที่เห็นนี้สร้างในยุคปัจจุบัน)








พบว่าส่วนหนึ่งของเพิงหน้าผามีแท่งหินทรายที่ตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า เข้าใจว่าจะมีการก่อสร้างอย่างใดอย่างหนึ่งแต่ไม่ทันได้ลงมือ










บริเวณที่มีจารึกภาษาขอม ได้มีการทำคอกกั้นไว้เพื่อไม่ให้ใครเข้าใกล้










ารึกภาษาขอมบนแผ่นหินทราย 










ผู้เชี่ยวชาญภาษาขอมจากกรมศิลปากร นายชะเอม แก้วคล้าย และนายบุญเลิศ เสนานนท์ ได้ถอดคำอ่านไว้


เขื่อนหน้าเมืองนครพนม

เขื่อนหน้าเมืองนครพนม
                     
เขื่อนหน้าเมืองนครพนม เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองนครพนม และเป็นจุดชมทิวทัศน์ พระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามริมแม่น้ำโขง บริเวณเขื่อนหน้าเมืองนครพนมนี้อยู่ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


 
 เป็นสถานที่พักผ่อนของชาวเมืองนครพนม และเป็นจุดชมทิวทัศน์ พระอาทิตย์ขึ้นและตกที่สวยงามริมแม่น้ำโขง บริเวณเขื่อนหน้าเมืองนครพนมนี้อยู่ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


















วัดพระธาตุศรีคุณ

วัดพระธาตุศรีคุณ


เมื่ออดีตก่อนที่จะเกิดวีรบุรุษนาแก เกิดการรบพุ่งกันตลอดมาตั้งแต่อาณาจักรล้านช้างเรื่อยไปจนถึง

อาณาจักรขอมเนื่องจากเป็นยุทธภูมิทางการต่อสู้ และตัวพระธาตุศรีคูณมีกษัตริย์ นักรบเป็นผู้ก่อสร้าง 

ตรงกับเทพประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นนักต่อสู้ คนที่เกิดวันนี้เช่นกันจะเป็นนักสู้ มีน้ำอดน้ำทนเป็นเยี่ยม 

และเชื่อว่าใครได้ไปสักการะจะได้อานิสงส์ทวีคูณ และเสริมพลังนักสู้ในจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น

                                  

พระธาตุศรีคุณ ประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุศรีคุณ อำเภอนาแก ระยะทางห่างจากจังหวัดนครพนม 78

กิโลเมตร เป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระธาตุศรีคุณ ซึ่งเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอนาแก ถูก

ค้นพบเมื่อประมาณปี พ.ศ.2340 และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปีพ.ศ.2486-2490 มีลักษณะคล้าย

พระธาตุพนม ต่างกันที่ชั้น 1 มี 2 ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ 2 สั้นกว่าพระ

ธาตุพนม ภายในบรรจุพระอรหันตสารีริกธาตุของพระโมคลานะ พระสารีบุตร พระอัครสาวกซ้ายขวาของ

พระพุทธเจ้า และ พระสังกัจจายนะ


                                 

พระธาตุศรีคุณเป็นพระธาตุคู่บุญของคนเกิดวันอังคาร ตามตำนานของพระธาตุองค์นี้ กล่าวไว้ว่าที่

อำเภอนาแกในอดีตเกิดการรบพุ่งกันตลอดมา ตั้งแต่อาณาจักรล้านช้างเรื่อยไปจนถึงอาณาจักรขอม

เนื่องจากเป็นยุทธภูมิทางการต่อสู้ ซึ่งองค์พระธาตุศรีคุณ มีกษัตริย์นักรบเป็นผู้ก่อสร้างตรงกับเทพ

ประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นนักต่อสู้ คนที่เกิดวันอังคารเช่นกันก็จะเป็นนักต่อสู้ มีน้ำอดน้ำทนเป็นเยี่ยม

                                                     
พระธาตุศรีคูณ วััดธาตุศรีคูณ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

พระธาตุศรีคุณ ประดิษฐานอยู่ที่วัดธาตุศรีคุณ อำเภอนาแก ห่างจากตัว จังหวัดนครพนม ไป ๓๙ กิโลเมตร พระธาตุองค์นี้ถูกค้นพบเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๐ และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๙๐ มีลักษณะคล้ายพระธาตุพนม ต่างกันที่ชั้น ๑ มี ๒ ตอน เป็นรูปสี่เหลี่ยม ประดับลวดลายปูนปั้น และชั้นที่ ๒ สั้นกว่าพระธาตุพนม ภายในบรรจุดพระอรหันต ธาตุของพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร พระอัครสาวกซ้ายขวาของพระพุทธเจ้า และพระสังกัจจายนะ
แผ่นดินนี้เมื่ออดีตก่อนที่จะเกิดวีรบุรุษนาแก เกิดการรบพุ่งกันตลอดมาตั้งแต่อาณาจักรล้านช้างเรื่อยไปจนถึง อาณาจักรขอมเนื่องจากเป็นยุทธภูมิทางการต่อสู้ และตัวพระธาตุศรีคูณมีกษัตริย์ นักรบเป็นผู้ก่อสร้าง ตรงกับเทพประจำวันอังคาร ซึ่งเป็นนักต่อสู้ คนที่เกิดวันนี้เช่นกันจะเป็นนักสู้ มีน้ำอดน้ำทนเป็นเยี่ยม และเชื่อว่าใครได้ไปสักการะจะได้อานิสงส์ทวีคูณ และเสริมพลังนักสู้ในจิตใจให้เข้มแข็งขึ้น

วัดพระธาตุเรณู

วัดพระธาตุเรณู
พระธาตุเรณู

          นอกจาก "พระธาตุพนม" อันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองนครพนมมาช้านาน ยังมีพระธาตุอื่น ๆ อีกหลายแห่ง แต่วันนี้กระปุกท่องเที่ยวจะพาเพื่อน ๆ ไปนมัสการ "พระธาตุเรณู" อีกหนึ่งปูชนียสถานที่สำคัญ โดยตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระธาตุพนมมากนัก และนับว่าเป็นพระธาตุคู่เมืองชาวเรณูนคร ที่จำลองมาจากพระธาตุพนม 

          สำหรับ พระธาตุเรณูนคร ประดิษฐานอยู่ที่ วัดธาตุเรณู ณ บ้านเรณูนคร ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม องค์พระธาตุจำลองมาจากองค์พระธาตุพนมองค์เดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2461 โดย พระอุปัชฌาย์อินภูมิโย สูง 35 เมตร กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน ภายในเป็นโพรงบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน ของมีค่า และเครื่องกกุธภัณฑ์ของพระยาและเจ้าเมือง 
                               พระธาตุเรณู


ประวัติ

          พระธาตุเรณู ตั้งอยู่ที่ วัดธาตุเรณู แต่เดิมชื่อ วัดกลาง เพราะสร้างขึ้นตรงกลางเมือง มีพื้นที่ประมาณ 16 ไร่เศษ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง แต่จะสร้างขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานแน่นอน เล่ากันมาว่าเจ้าผู้ปกครองเมืองคนแรกพร้อมด้วยอุปฮาดกรมการเมืองและราษฎรร่วมกันสร้างขึ้น แต่โบราณกาลมาถือว่าวัดกลางเป็นวัดสำคัญของเมือง เป็นวัดสำหรับกระทำพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามประเพณีด้วย ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อวัดกลางมาเป็น วัดธาตุเรณู ตาม พระธาตุเรณู ดังที่เรียกกันอยู่ในปัจจุบันนี้
          พระธาตุเรณู สร้างด้วยอิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดในปัจจุบัน มีการก่อสร้างถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 แต่ยังไม่ทันจะทำการฉลองสมโภชก็ถูกฟ้าผ่าพังทลายจนหมดสิ้น เป็นที่เศร้าเสียใจกันทั่ว ทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสจึงประชุมเห็นพร้อมกันว่าต้องทำการก่อสร้างพระธาตุนี้ขึ้นอีกให้ได้ โดยก่ออิฐให้หนาขึ้น ทำการก่อสร้างอยู่ราวปีกว่าก็สำเร็จเรียบร้อย จึงได้จัดงานฉลองสมโภชในปี พ.ศ. 2463 
                                 พระธาตุเรณู
          รูปแบบของพระธาตุเรณูได้จำลองรูปทรงมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม (องค์ก่อนกรมศิลปากรบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2483) แต่มีขนาดเล็กกว่า สูงประมาณ 35 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 8.37 เมตร เรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมสูง เรือนธาตุชั้นแรกและชั้นที่ 2 ประดับด้วยซุ้มประตูหลอกและลวดลายปูนปั้นทั้ง 4 ด้าน ถัดขึ้นไปเป็นส่วนองค์ระฆังทำทรงบัวเหลี่ยมประดับด้วยลายดอกจอกปูนปั้น ถัดขึ้นไปจึงเป็นส่วนของยอดซึ่งประดับด้วยฉัตรอยู่ด้านบนสุด ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน รวมทั้งของมีค่าที่เจ้าเมืองและประชาชนมีศรัทธาบริจาค



          นอกจากนั้น ภายในวัดธาตุเรณูยังเป็นที่ประดิษฐานของ "พระองค์แสน" ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนเคารพนับถือมาก พระองค์แสนมีน้ำหนักถึง 10 หมื่น  ตามมาตราชั่งที่นิยมใช้กันในท้องถิ่น คือ 1 หมื่น เท่ากับ 12 กิโลกรัม 10 หมื่น จึงเท่ากับ 120 กิโลกรัม แต่การนับในปัจจุบัน 10 หมื่นเป็น 1 แสน เพราะเหตุนี้จึงเรียกชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระองค์แสน" หรือ "หลวงพ่อองค์แสน" 
          ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร  ปางสมาธิ พระพักตร์เป็นแบบลาว ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว อายุประมาณ 100 ปีขึ้นไป พระสงฆ์และชาวบ้านร่วมกันหล่อพระองค์แสนขึ้นเพื่อจะให้เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ ขจัดภัยพิบัติข้าศึกศัตรูหมู่อมิตร เป็นนิมิตรหมายถึงความอุดมสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนที่เคารพนับถือ ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ให้ได้ทำไร่ทำนากันทั่วไป และเมื่อถึงวันสงกรานต์ของทุก ๆ ปี จะมีพิธีอัญเชิญพระองค์แสนแห่ไปรอบเมือง เพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชาและสรงน้ำด้วย

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วัดนักบุญอันนา

วัดนักบุญอันนา



ประวัติวัดนักบุญอันนา
พระสังฆราชกูร์เวอซีได้ขอให้คุณพ่ออัลบรังด์ แพร่ธรรมในหมู่ชาวจีนตั้งแต่ปี 1835คุณพ่อได้ประจำที่วัดกาลหว่าร์    ซึ่งมีคนจีนอาศัยอยู่มาก ต่อมาวัดนี้จึงกลายเป็นวัดของคนจีนไป คุณพ่อทำงานแพร่ธรรมทั้งในพระนครและต่างจังหวัด    ในต่างจังหวัดคุณพ่อจะเดินทางไปตามแม่น้ำลำคลองซึ่งมีพวกคนจีนอาศัยอยู่และชักชวนให้พวกเขาเข้าถือศาสนาคริสตัง        สอนคำสอนให้และไปเยี่ยมเยือ นเขาอย่างสม่ำเสมอ คริสตังหมู่แรกที่บางช้างและบริเวณดอนกระเบื้องแม่กลองนครชัยศรี  ท่าจีน ปากน้ำ ปากลัด ฯลฯ ก็เกิดขึ้นเพราะคุณพ่ออัลบรังด์ และมิชชันนารีเคลื่อนที่


 ที่ท่าจีนจะมีคุณพ่อจากวัดกาลหว่าร์บ้าง จากวัดนครชัยศรีบ้าง มาเยี่ยมเยือนและแปลคำสอนให้อยู่เสมอๆ   ต่อมาในปี 1949  มีสาเหต ุหนึ่งที่ทำให้บรรดา  มิชชันนารีต้องถูกเนรเทศออกจากประเทศสยาม พระสังฆราชปัลเลอกัวเกรงว่าคนที่กำลังเรียนคำสอน   หรือเป็นคริสตังใหม่จะหมดกำลังใจ
 เนื่องจากขาดมิชชันนารี    จึงให้พวกเขาย้ายไปอยู่นครชัยศรีซึ่งมีคริสตังมากกว่า  ปี  1951   เมื่อคุณพ่อดือปองด์และเพื่อนมิช ชันนารีกลับมาแล้ว  บรรดามิชชันนารีเคลื่อนที่ก็เริ่มทำงานเผยแพร่พระวรสารอีกครั้งหนึ่ง ในเวลานั้นจำนวนคริสตังที่ท่าจีนได้เพิ่มขึ้นมากพอสมควร

  ปี 1822 คุณพ่อปิโอ ปลัดที่บางช้าง รับเป็นผู้ดูแลคริสตังที่ท่าจีน คุณพ่อเห็นว่าคริสตังที่นี่มีความศรัทธาและมีจำนวนมากพอสมควร จึงคิดจะสร้างวัดขึ้น ปี 1886 คุณพ่อได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งและเริ่มลงมือก่อสร้างวัดหลังแรก สร้างเสร็จในปี 1888 ถวายเป็นเกียรติแ ด่ท่านนักบุญอันนา ปี 1889        พระสังฆราชเวย์ ได้ย้ายคุณพ่อปิโอไปเป็นเจ้าอาวาสวัดซางตาครู้ส และให้วัดท่าจีนขึ้นกับวัดซางตาครู้ส ให้พระสงฆ์เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบวัดท่าจีนด้วย คุณพ่อปิโอ และคุณพ่ออัมบรอซิโอ (แก้ว) ซึ่งเป็นปลัดได้ผลัดเปลี่ยนกันมาดูแลคริสตังที่วัดท่าจีน จนถึงปี 1890   คุณพ่อปิโอได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดนครชัยศรี  วัดท่าจีนจึงย้ายไปขึ้นกับวัดนครชัยศรี          ในเวลาเดียวกัน คุณพ่อปิโอก็ยังคงเป็น เจ้าอาวาสวัดซางตาครู้สอยู่ การที่คุณพ่อต้องดูแลถึง 3 วัด รวมทั้งการเดินทางที่ยากลำบาก ทำให้สุขภาพของท่านทรุดโทรม คุณพ่อจึงเดินทางกลับไปรักษาตัวที่    ประเทศฝรั่งเศสในปี 1893


  เนื่องจากยังไม่สามารถจัดหาพระสงฆ์มาประจำที่วัดท่าจีนได้  พระสังฆราชเวย์จึงมอบหมายให้คุณพ่อจากวัดนครชัยศรี             และจ ากวัดในกรุงเทพฯ มาเยี่ยมเยือนคริสตังที่ท่าจีนเป็นครั้งคราว ในปี 1895 คุณพ่อกิยู เจ้าอาวาสวัดนครชัยศรีได้ส่งปลัดของท่านคือ คุณพ่อแปร์รอส มาดูแลวัดท่าจีน ในปีนี้เองคุณพ่อ     แปร์รอสได้เป็นผู้เปิดบัญชีศีลล้างบาปของวัดท่าจีนขึ้นเป็นครั้งแรก

ปี 1896 คุณพ่อปิโอกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดนครชัยศรีอีกครั้งหนึ่ง คุณพ่อได้มาดูแลวัดท่าจีนด้วยตัวเองเป็นส่วนมาก และส่งพ่อปล ัดมาแทนในบางครั้ง  จนถึงปี 1899 คุณพ่อเกิดล้มป่วยลงต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศสและมรณภาพในปีต่อมา ปี 1900-1904 คุณพ่อเออเย็น เล็ตแชร์, คุณพ่อท็อกแกลร์    และคุณพ่อ  แกรมฟ์ จากวัดนครชัยศรีได้ผลัดกันมาดูแลวัดท่าจีน



ปี 1904 เมื่อรัฐบาลเปิดรถไฟสายกรุงเทพฯ-มหาชัย  ดังนั้นเพื่อความสำดวกในการเดินทางพระสังฆราชเวย์จึงมอบหมายให้พระสง ฆ์วัดกาลหว่าร์รับหน้าที่มาดูแลวัดท่าจีนจนถึงปี 1910 ตลอดเวลา 6 ปีได้มีคุณพ่อแฟร์เลย์, คุณพ่อแบลามี, คุณพ่อริชารด์, คุณพ่อแอสเตวัง และคุณพ่อแปร์รัว ผลัดเปลี่ยนกันมาอยู่เสมอๆ