วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดานสาวคอย

ดานสาวคอย จังหวัดนครพนม


ดานสาวคอย หรือ ลานหินดานสาวคอย

อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม: ความเป็นมา
มีตำนานเล่าขานกันว่าสมัยก่อน มีสาวงามนัดพบกับคนรักหนุ่มที่แห่งนี้ แต่ชายหนุ่มถูกพ่อของสาวงามฆ่าตายเสียก่อน วิญญาณของสาวงามนั้น จึงวนเวีนยอยู่ที่ ณ ที่แห่งนี้ จึงได้ชื่อว่า "ลานสาวคอย" ตั้งอยู่บนเทือก เขาพูพานมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหินราบเรียบพบต้นไม้เบญจพรรณ ที่ขึ้นอยู่ประปรายนักท่องเที่ยวหลายท่านที่ขึ้นไปบนลานหินแล้วสามารถมอง เห็นยอดพระธาตุพนมได้อย่างชัดเจน
กระทั่งเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2528 ก็มีการประดิษฐาน "พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร" อันเป็นสัญลักษณ์ของการยุติการสู้รบเพื่อนำความสงบสุขมาสู่ดินแดนแห่งนี้ ต่อมาสำนักสงฆ์แห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็น "วัดดานสาวคอยวนาราม" เมื่อปี พ.ศ.2546 และจากนั้นในปี พ.ศ.2547ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดใหม่ว่า "วัดภูพานอุดมธรรม" พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้เชิญตราสัญลักษณ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบมาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์องค์พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร ตั้งอยู่บริเวณวัดภูพานอุดมธรรม (หรือชื่อเก่าวัดภูพานลานสาวคอยวนาราม) บนเทือกเขาภูพาน บ.ลานสาวคอย ต.นาแก อ.นาแก จ.นครพนม 

ดานสาวคอย : ตำนานรักแห่งภูพาน
ดานสาวคอย หรือ ลานหินดานสาวคอย  : ดาน หมายถึงลานหิน ตำนานรักของหนุ่มสาวบนเขาภูพานในอดีต กำเนิดที่นาแก จังหวัดนครพนม ตำนานรักอีกบทหนึ่งของหนุ่มสาวบ้านป่าที่ถูกกีดกันความรัก มีเรื่องเล่าขานหลายตำนาน แต่สุดท้ายคือความตายของหญิงสาวที่รอคอยคนรักที่ดานสาวคอยกลายเป็นตำนานเรื่องเล่าในเวลาต่อมา


"ดานสาวคอย" ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน บ้านดานสาวคอย ตำบลนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม มีพื้นที่เป็นลานหินราบเรียบบนภูสูง สามารถมองเห็นทิวทัศน์อำเภอนาแก อำเภอธาตุพระธาตุพนม และหนองหาร จังหวัดสกลนครได้
ในยุคสงครามประชาชนหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ดานสาวคอย ได้ก่อตำนานรักบทใหม่ระหว่างสหายสาวบ้านป่ากับหนุ่มนักศึกษาจากเมืองกรุง นิยายรักแห่งยุคสมัยคงไม่แตกต่างกัน บทสุดท้ายของตำนานดานสาวคอยยุคต่อมา คือการพลัดพรากจากกันในวันฟ้าใหม่ ทิ้งไว้เพียงร่องรอยความทรงจำและอุดมการณ์บนภูสูง




หลังการยุติการสู้รบของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับรัฐบาลไทย จากนโยบาย 66/2523 มีการนิรโทษกรรมแก่นิสิต นักศึกษา ประชาชนที่เดินทางเข้าป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย จารึกไว้ในตำนานการต่อสู้ และตำนานรักระหว่างชั้นชนสาวบ้านป่ากับปัญญาชนจากมหาวิทยาลัย กลายเป็นลานธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจให้โลกนี้มีแต่สันติสุข
"พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร" คือสัญลักษณ์ของการยุติการสู้รบของคนไทยด้วยกัน หันหน้ามาทักทายกันด้วยมิตรไมตรี ความสงบสุขและสามัคคีนำมาสู่ชาวอำเภอนาแก จนกลายเป็นที่ตั้งของ "วัดดานสาวคอยวนาราม" ในปัจจุบัน
  


ในปี  2547 ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวัดใหม่ว่า "วัดภูพานอุดมธรรม" พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบมาประดิษฐาน ณ ผ้าทิพย์องค์พระพุทธมหามงคลบพิตรจัตุรทิศประทานพร บริเวณวัดภูพานอุดมธรรม สันติสุขจักคืนสู่แผ่นดินนี้อีกครั้ง



บันทึกเรื่องราวและความทรงจำโดยคนรุ่นใหม่ จดจำ จารึกในความทรงจำของท้องถิ่น ผ่านการแสดงของนักเรียนโรงเรียนนาแกสามัคคีวิทยา อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
สืบสานตำนานรักของหนุ่มสาวอีสาน ตำนานแห่งความรักที่เป็นอมตะ ตำนานการต่อสู้ทางอุดมการณ์ ตำนานรักระหว่างระหว่างรบ ความรักเพื่อผู้ทุกข์ทน ความรักเพื่อประชาชนเพื่อรอคอยวันแห่งฟ้าสีทองผ่องอำไพ ตำนานรักบทนี้มิแตกต่างกับความเจ็บปวดในใจลึกผู้ร่วมขบวนการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น